การจัดการความรู้ (KM)

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2565

แผนการความรู้ที่ 1

แผนการความรู้ที่ 2

แผนที่ 1 แผนการจัดการความรู้คณะสหเวชศาสตร์

แผนที่ 2 แผนการจัดการความรู้คณะสหเวชศาสตร์

รายงานการประชุมครั้งที่ 3 1-02-66

1. แหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ เพื่อการพัฒนาศักยภาพบัณฑิต

                  ในปัจจุบันหลังจากพ้นระยะการระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนมีการเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงทักษะในการทำงานที่ต้องมีมากขึ้นเพื่อรับกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยปัจจุบันได้มีหลายหน่วยงานและองค์กรได้เปิดคอร์สออนไลน์ในหลายสาขาวิชาให้ได้เลือกศึกษาได้ฟรี ซึ่งมีทั้งสายวิทย์สุขภาพหรือเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง ๆ  มีแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ที่น่าสนใจดังนี้

  1. Mahidol University Extension: Mux

เว็บไซต์ : https://mooc.chula.ac.th

                    Mahidol University Extension: Mux : หรือที่เรียกง่ายๆ ติดปากกันว่า Mahidol MOOC เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University) ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ที่บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลมาเป็นผู้เผยแพร่องค์ความรู้ด้านต่างๆ และได้รับความนิยมในอันดับต้นๆ ของไทยเลยทีเดียว ภายในแหล่งเรียนรู้ออนไลน์นี้มีคอร์สต่างๆ น่าสนใจมากมาย แน่นอนว่าที่โดดเด่นเป็นพิเศษก็คือคอร์สที่เกี่ยวกับการแพทย์และสุขภาพนั่นเอง

2. Thai MOOC

เว็บไซต์ : https://thaimooc.org/

Thai MOOC : แหล่งการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์นี้จัดทำขึ้นโดยหน่วยงานรัฐบาลของไทยอย่าง โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (Thailand Cyber University) สังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยความร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ภายในแหล่งเรียนรู้นี้มีความรู้มากมายหลากหลายสาขาวิชา หลากหลายระดับอาชีพ มีองค์ความรู้ตั้งแต่เรื่องของโรงงานอุสาหกรรม ไปจนถึงพนักงานออฟฟิศระดับบริหาร นอกจากนี้ที่สำคัญยังมีแหล่งเรียนรู้สำหรับสร้างอาชีพให้กับตนเอง เพื่อส่งเสริมผู้ที่มีการศึกษาน้อย หรือผู้ที่ต้องการเปลี่ยนอาชีพ ตลอดจนผู้ที่อยากสร้างธุรกิจของตนเองอีกด้วย

3. Chula MOOC

เว็บไซต์ : https://mooc.chula.ac.th

          Chula MOOC : แหล่งเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University) ต้องบอกว่า MOOC ของจุฬาฯ นั้นเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในลำดับต้นๆ ของโลกเลยก็ว่าได้ เพราะทันทีที่เปิดการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์นี้ก็มีผู้ที่สนใจมาลงทะเบียนเรียนกันมากถึงกว่า 60,000 คนเลยทีเดียว และมีอัตราเรียนจบที่สูงถึง 26% ที่ดีกว่ามหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกมากมายอีกด้วย สำหรับ MOOC ของจุฬาฯ นั้นมีองค์ความรู้ให้เรียนรู้มากมาย โดยผู้สอนนั้นจะเป็นบุคลากรของจุฬาฯ เองที่จะมาให้ความรู้ในศาสตร์สาขาวิชาต่างๆ ซึ่งทางจุฬาฯ จะเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มที่ให้บริการการเรียนออนไลน์อย่าง mycourseville ที่จะช่วยส่งเสริมศักยภาพซึ่งกันและกันอีกด้วย

4. Udemy

เว็บไซต์ : https://www.udemy.com/

Udemy นั้นมีบริการในหลากหลายประเทศทั่วโลกแล้วก็รวมถึงประเทศไทยด้วย มีการแปลข้อมูลเป็นภาษาไทยให้อ่านง่าย รวมถึงมีการแปลและพากษ์เสียงภาษาไทยสำหรับคอร์สที่ใช้ภาษาต่างประเทศต่างๆ เพื่อให้คนไทยฟังได้เข้าใจง่ายขึ้นอีกด้วย ภายใน Udemy นั้นมีคอร์สเรียนมากมาย ไม่จำกัดผู้เรียน ไม่จำกัดคุณลักษณะ และไม่จำกัดวิธีการเรียนรู้ทั้งสิ้น นอกจากนี้ทาง Udemy ยังเพิ่มบริการในส่วนของ Udemy for Business ที่รองรับแหล่งเรียนรู้สำหรับการพัฒนาทักษะการทำงานเพื่อองค์กรแต่ละองค์กรอย่างเฉพาะเจาะจงอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสำหรับวัยทำงานอย่างแท้จริง และได้รับการยอมรับจากบริษัทชั้นนำระดับโลกเป็นอย่างมากด้วย

5. BBC – เรียนภาษาอังกฤษกับบีบีซี

เว็บไซต์ : http://www.bbc.co.uk/learningenglish/thai/home

ในเว็บไซต์ของ BBC เองก็มีส่วนของ Learning English เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้ได้เรีนยรู้กันฟีอีกด้วย ที่สำคัญมีบริการภาษาไทยที่จะทำให้เราได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ง่ายและเข้าใจมากขึ้น สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมตลอดจนเริ่มทำความรู้จักภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานได้เป็นอย่างดีทีเดียว นอกจากจะมีการสอนภาษาอังกฤษแล้ว ก็ยังมีแบบฝึกหัดให้ทดสอบไปในตัว เป็นการพัฒนาภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพทีเดียว แล้วบทเรียนยังมีความหลากหลาย ด้วยความที่เป็นองค์กรสื่อ BBC จึงทำบทเรียนได้น่าสนใจและสร้างสรรค์อย่างยิ่ง รวมถึงสามารถหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลมากมายในเว็บไซต์ BBC ในคราวเดียวกันด้วย

2. การเขียนบทความวิจัยตีพิมพ์วารสารเพื่อตีพิมพ์ในระดับชาติและนานาชาติ

ขั้นตอนการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ

1. การทำความรู้จักวรสาร

          การทำความรู้จักวารสารนั้นๆก่อนว่า วารสารอยู่ในฐานข้อมูลใด เช่น ISI, Scopus, Science Direct Pubmed และ TCI หรืออื่นๆ เป็นวารสารระดับใด ในประเทศ หรือต่างประเทศ ได้รับการยอบรับระดับใด เช่นวารสารในฐานข้อมูล ISI, Scopus, Science Direct, Pubmed เป็นวารสารระดับนานาชาติ มีคุณภาพสูงและมีความน่าเชื่อถือสูง วารสาร TCI เป็นวารสารระดับชาติ มีการยอมรับรองลงมา เป็นต้น และสอนการดูค่า Impact factor หรือค่าการใช้ในการอ้างอิง ยิ่งมีค่าสูงยิ่งหมายถึงมีความน่าเชื่อถือสูง และผู้คนสนใจเป็นจำนวนมาก โดยได้ยกตัวอย่างการคำนวณ เช่น 600 citation หารด้วย 150+150 articles จะเท่ากับ 2 หมายความว่ามความน่าเชื่อถือระดับสูง เป็นต้น ต่อไปเป็นการดูระดับ Q ในวารสาร กล่าวคือหาก Q ยิ่งน้อยความน่าเชื่อถือของวารสารก็จะสูงในระดับนานาชาติ เช่น Q1 มีความน่าเชื่อถือมากกว่า Q2 เป็นต้น หรือการใช้คำว่า Tier ในการแบ่งความน่าเชื่อถือของวารสารระดับชาติ และยิ่งมีค่าน้อยยิ่งมีความน่าเชื่อถือเช่นกัน เช่น Tier1 น่าเชื่อถือมากกว่า Tier2 เป็นต้น

2. ทำการเลือกวรสาร

ตรวจสอบวารสารทั้งหมดเพื่อค้นหา

1.1 จุดมุ่งหมายและขอบเขต ของวารสารนั้น เช่น วารสารทางการแพทย์ วารสารการออกกำลังกาย เราต้องเลือกให้เข้ากับจุดมุ่งหมายและขอบเขตตามงานวิจัยของเราเอง

1.2 ประเภทของบทความที่ได้รับการยอมรับ ตรวจสอบค่า Q ในวารสารระดับนานาชาติ หรือ Tier ในระดับชาติ

1.3 จำนวนผู้อ่านทั้งหมด ดูยอดผู้อ่านหากมีผู้อ่านมากสามารถแปลผลว่ามีผู้คนสนใจมากหัวข้อยอดนิยมปัจจุบัน ดูว่าปัจจุบันกระแสนิยมในการทำวิจัยไปในทิศทางใด

3. การเตรียม Manuscript

          Manuscript ที่ดี คือ ชัดเจน, ใช้ประโยชน์ได้ และ มีข้อความน่าตื่นเต้น เป็นต้น แสดงให้เห็นโครงสร้างตรรกะของงานวิจัย


4. เทคนิคการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ

1. การประเมินคุณภาพ ผลงานวิจัยว่าผลงานวิจัยมีคุณภาพหรือไม่ โดยพิจารณาจาก

1.1 วิธีวิจัย (Methodology) มีความถูกต้อง แม่นยำตามระเบียบวิธีวิจัย

1.2 กลุ่มตัวอย่าง สามารถเป็นตัวแทนของประชากรได้ตามระเบียบวิธีวิจัยและสามารถมีผลกระทบในวงกว้าง

1.3 ถ้าเป็นการทดลองในมนุษย์ ผลงานวิจัยต้องผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มีหนังสือรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

2. เมื่อประเมินแล้วว่าผลงานวิจัยมีคุณภาพในระดับที่สามารถตีพิมพ์ลงวารสารต่างประเทศได้แล้วเขียนบทความวิจัยฉบับร่างเป็นภาษาไทย “การเขียนจะต้องเขียนให้คมทั้งวิธีวิจัยและผลการวิจัย”

2.1 การเขียนวิธีวิจัยให้คม เป็นการแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือในการวิจัย วิธีการวิจัยต้องถูกต้องแม่นยำตามระเบียบวิธีวิจัย

2.2 การเขียนผลงานวิจัยให้คม เป็นการหยิบประเด็นให้แหลมคม ให้เห็นผลการวิจัยในครั้งนี้มีความรู้ใหม่ หรือเกิดสิ่งใหม่ๆ แตกต่างจากผลงานวิจัยอื่นๆ

ดังนั้นนักวิจัยต้องอ่านผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศให้มากพอจึงจะเห็นความแตกต่างและสามารถหยิบประเด็นแหลมคมของผลงานวิจัยของตนเองได้

3. การจัดเตรียมต้นฉบับเพื่อน าเสนอข้อมูลวารสารต่างประเทศ ต้องให้กระชับ ไม่นำเสนอยาวเกินไปส่วนใหญ่ ไม่เกิน 12 หน้า

          นักวิจัยควรศึกษาวิธีการนำเสนอข้อมูลจากวารสารต่างประเทศหลายๆ ฉบับ แล้วเลือกรูปแบบที่นำเสนอข้อมูลที่เหมาะกับงานวิจัยที่กำลังศึกษา เมื่อได้ผลงานวิจัยที่คมชัดแล้วให้พิจารณาชื่อเรื่องของการวิจัยอีกครั้งหนึ่งแล้วกำหนด “ชื่อเรื่องวิจัยให้คมชัด”

4. เมื่อได้ฉบับภาษาไทยแล้ว นักวิจัยแปลเป็นฉบับภาษาอังกฤษด้วยสำนวน ที่ราบรื่น และที่สำคัญควรให้เจ้าของภาษาตรวจความถูกต้องของการใช้ภาษาอังกฤษในเชิงวิชาการอีกครั้ง

5. เทคนิคการยอมรับ (Submitted) ให้ตีพิมพ์ของวารสารระดับนานาชาติ

5.1 ศึกษาวารสารที่จะตีพิมพ์ว่ารับตีพิมพ์ผลงานวิจัยประเด็นใด ซึ่งวารสารจะแจ้งวัตถุประสงค์ไว้ชัดเจน โดยเลือกวารสารที่มีความสอดคล้องบทความวิจัย จำนวน 4-5 วารสาร ที่ระดับความถี่ที่บทความ ในวารสารนั้นจะได้รับการอ้างถึง หรือถูกน าไปใช้ (Impact Factor) แตกต่างกัน แล้วให้เลือกลงวารสารที่มี Impact Factor สูงกว่าไว้

การถูกปฏิเสธ (Rejected) ของวารสารนานาชาติเป็นเรื่องปกติ การยื่นเสนอตีพิมพ์ลงวารสารครั้งแรก ควรยื่นเสนอในวารสารที่มีระดับ Impact Factor สูงเกินกว่าที่ผู้วิจัยประเมินบทความของตนเองเผื่อไว้ซึ่งหากได้รับการปฏิเสธจากวารสารแรกจึงค่อยส่งลงวารสารที่เลือกไว้ต่อไป แต่ไม่ควรส่งไปพร้อมกันหลายวารสารเพราะผิดจรรยาบรรณนักวิจัย ดังนั้นต้องมั่นใจก่อนว่าวารสารที่แรกปฏิเสธก่อนจึงจะส่งไปวารสารอื่นต่อไป และการเลือกวารสารควรเลือกที่อยู่ในฐาน Scopus และ SCI

5.2 การ Submitted นักวิจัยต้องฝึกการส่งในระบบออนไลน์ (Submitted Online) และการเตรียมใบปะหน้าที่เรียกว่า จดหมายแนะน าตัวหรือ Cover Letter และประวัติของผู้ร่วมวิจัยให้พร้อม ต้องศึกษาวิธีการเขียนและเตรียมไว้รอ รวมทั้งเสนอชื่อผู้ประเมินบทความ (Reviewer) เตรียมไว้ด้วยเนื่องจากบางวารสารต้องการในขั้นตอนการ Submitted Online นักวิจัยจะได้รับการตอบรับอัตโนมัติว่าได้น าผลงานวิจัยเข้าระบบ (ซึ่งยังไม่ใช่การตอบรับลงตีพิมพ์) จากนั้นบทความวิจัยจะผ่านผู้ประเมินคุณภาพบทความเบื้องต้น (Editor) ซึ่งถ้า Editorพิจารณาประมาณ 3-4 วัน ถ้าส่งจดหมายมา (Mail) ส่วนใหญ่จะปฏิเสธ แต่หากหรือเกิน 2 สัปดาห์ส่วนใหญ่บทความจะถูกส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญพิจารณาบทความ (Peer Review) ต่อไป และเข้าสู่กระบวนการ พิจารณาคุณภาพบทความ

5.3 การเป็นผู้วิจัยหลัก และผู้วิจัย ในการ Submitted บทความตีพิมพ์จะให้กรอกผู้วิจัยหลักและผู้วิจัย ซึ่งโดยหลักการแล้วผู้วิจัยหลักจะเป็นผู้ที่วารสารติดต่อกลับและเป็นผู้ท าหน้าที่ติดต่อกับวารสารทั้งการปรับแก้ตามข้อเสนอแนะหรือเรื่องอื่นๆ จนกระทั่งบทความได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ส่วนผู้วิจัยทุกคนที่ปรากฏรายชื่อในบทความวิจัยต้องรับรู้และให้การยินยอมในการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2564

แผนการความรู้ที่ 1

แผนการความรู้ที่ 2

แผนที่ 1 แผนการจัดการความรู้คณะสหเวชศาสตร์

แผนที่ 2 แผนการจัดการความรู้คณะสหเวชศาสตร์

1 การผลิตบัณฑิต   การจัดการความรู้บูรณาการ การจัดการเรียนการสอน บริการวิชาการและงานวิจัย

และการจัดการเรียนการสอนแบบ problem base learning

2 การเพิ่มผลผลิตงานวิจัย  มีงานวิจัยที่ผ่านขบวนการแล้วลงในฐาานข้อมูล

ฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรรางจืดและลูกใต้ใบในการลดการหลั่ง IL-1 จากเซลล์ LPS-Activated THP-1 Macrophages เพาะเลี้ยงอฑิตยา โรจนสโรช

วนิดา ไทรชมพู, ภรณ์ประภา อ่วมนุช, กัลยา แสงฉวี, ปิลันธนา เลิศสถิตธนกร
วันเฉลิม สีหบุตร, ฐิติรัตน์ ศรีสมบัติ
Thanvisith Charoenying, Wantika Kruanamkam, Songwut Yu-iam, Pisanu U-chuvadhana, Thaval Rerksngarm
Sakulrat Sutthiprapa, Khanchid Wongsaengchan, Komsilp Wangyao