ขั้นตอนการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ
1. การทำความรู้จักวรสาร
การทำความรู้จักวารสารนั้นๆก่อนว่า วารสารอยู่ในฐานข้อมูลใด เช่น ISI, Scopus, Science Direct Pubmed และ TCI หรืออื่นๆ เป็นวารสารระดับใด ในประเทศ หรือต่างประเทศ ได้รับการยอบรับระดับใด เช่นวารสารในฐานข้อมูล ISI, Scopus, Science Direct, Pubmed เป็นวารสารระดับนานาชาติ มีคุณภาพสูงและมีความน่าเชื่อถือสูง วารสาร TCI เป็นวารสารระดับชาติ มีการยอมรับรองลงมา เป็นต้น และสอนการดูค่า Impact factor หรือค่าการใช้ในการอ้างอิง ยิ่งมีค่าสูงยิ่งหมายถึงมีความน่าเชื่อถือสูง และผู้คนสนใจเป็นจำนวนมาก โดยได้ยกตัวอย่างการคำนวณ เช่น 600 citation หารด้วย 150+150 articles จะเท่ากับ 2 หมายความว่ามความน่าเชื่อถือระดับสูง เป็นต้น ต่อไปเป็นการดูระดับ Q ในวารสาร กล่าวคือหาก Q ยิ่งน้อยความน่าเชื่อถือของวารสารก็จะสูงในระดับนานาชาติ เช่น Q1 มีความน่าเชื่อถือมากกว่า Q2 เป็นต้น หรือการใช้คำว่า Tier ในการแบ่งความน่าเชื่อถือของวารสารระดับชาติ และยิ่งมีค่าน้อยยิ่งมีความน่าเชื่อถือเช่นกัน เช่น Tier1 น่าเชื่อถือมากกว่า Tier2 เป็นต้น
- วรสารใน ISI: https://www.webofscience.com/
- วรสารใน Scopus: https://www.scopus.com/
- วรสารใน PubMed: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/
- วรสารใน TCI: https://tci-thailand.org/list%20journal.php
- รายชื่อสำนักพิมพ์/วารสารที่ควรระมัดระวังในการตีพิมพ์: https://web.archive.org/web/20170112125427/https://scholarlyoa.com/publishers/
2. ทำการเลือกวารสาร
ตรวจสอบวารสารทั้งหมดเพื่อค้นหา
1.1 จุดมุ่งหมายและขอบเขต ของวารสารนั้น เช่น วารสารทางการแพทย์ วารสารการออกกำลังกาย เราต้องเลือกให้เข้ากับจุดมุ่งหมายและขอบเขตตามงานวิจัยของเราเอง
1.2 ประเภทของบทความที่ได้รับการยอมรับ ตรวจสอบค่า Q ในวารสารระดับนานาชาติ หรือ Tier ในระดับชาติ
1.3 จำนวนผู้อ่านทั้งหมด ดูยอดผู้อ่านหากมีผู้อ่านมากสามารถแปลผลว่ามีผู้คนสนใจมากหัวข้อยอดนิยมปัจจุบัน ดูว่าปัจจุบันกระแสนิยมในการทำวิจัยไปในทิศทางใด
3. การเตรียม Manuscript
Manuscript ที่ดี คือ ชัดเจน, ใช้ประโยชน์ได้ และ มีข้อความน่าตื่นเต้น เป็นต้น แสดงให้เห็นโครงสร้างตรรกะของงานวิจัย



4. เทคนิคการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ
1. การประเมินคุณภาพ ผลงานวิจัยว่าผลงานวิจัยมีคุณภาพหรือไม่ โดยพิจารณาจาก
1.1 วิธีวิจัย (Methodology) มีความถูกต้อง แม่นยำตามระเบียบวิธีวิจัย
1.2 กลุ่มตัวอย่าง สามารถเป็นตัวแทนของประชากรได้ตามระเบียบวิธีวิจัยและสามารถมีผลกระทบในวงกว้าง
1.3 ถ้าเป็นการทดลองในมนุษย์ ผลงานวิจัยต้องผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มีหนังสือรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
2. เมื่อประเมินแล้วว่าผลงานวิจัยมีคุณภาพในระดับที่สามารถตีพิมพ์ลงวารสารต่างประเทศได้แล้วเขียนบทความวิจัยฉบับร่างเป็นภาษาไทย “การเขียนจะต้องเขียนให้คมทั้งวิธีวิจัยและผลการวิจัย”
2.1 การเขียนวิธีวิจัยให้คม เป็นการแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือในการวิจัย วิธีการวิจัยต้องถูกต้องแม่นยำตามระเบียบวิธีวิจัย
2.2 การเขียนผลงานวิจัยให้คม เป็นการหยิบประเด็นให้แหลมคม ให้เห็นผลการวิจัยในครั้งนี้มีความรู้ใหม่ หรือเกิดสิ่งใหม่ๆ แตกต่างจากผลงานวิจัยอื่นๆ
ดังนั้นนักวิจัยต้องอ่านผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศให้มากพอจึงจะเห็นความแตกต่างและสามารถหยิบประเด็นแหลมคมของผลงานวิจัยของตนเองได้
3. การจัดเตรียมต้นฉบับเพื่อน าเสนอข้อมูลวารสารต่างประเทศ ต้องให้กระชับ ไม่นำเสนอยาวเกินไปส่วนใหญ่ ไม่เกิน 12 หน้า
นักวิจัยควรศึกษาวิธีการนำเสนอข้อมูลจากวารสารต่างประเทศหลายๆ ฉบับ แล้วเลือกรูปแบบที่นำเสนอข้อมูลที่เหมาะกับงานวิจัยที่กำลังศึกษา เมื่อได้ผลงานวิจัยที่คมชัดแล้วให้พิจารณาชื่อเรื่องของการวิจัยอีกครั้งหนึ่งแล้วกำหนด “ชื่อเรื่องวิจัยให้คมชัด”
4. เมื่อได้ฉบับภาษาไทยแล้ว นักวิจัยแปลเป็นฉบับภาษาอังกฤษด้วยสำนวน ที่ราบรื่น และที่สำคัญควรให้เจ้าของภาษาตรวจความถูกต้องของการใช้ภาษาอังกฤษในเชิงวิชาการอีกครั้ง
5. เทคนิคการยอมรับ (Submitted) ให้ตีพิมพ์ของวารสารระดับนานาชาติ
5.1 ศึกษาวารสารที่จะตีพิมพ์ว่ารับตีพิมพ์ผลงานวิจัยประเด็นใด ซึ่งวารสารจะแจ้งวัตถุประสงค์ไว้ชัดเจน โดยเลือกวารสารที่มีความสอดคล้องบทความวิจัย จำนวน 4-5 วารสาร ที่ระดับความถี่ที่บทความ ในวารสารนั้นจะได้รับการอ้างถึง หรือถูกน าไปใช้ (Impact Factor) แตกต่างกัน แล้วให้เลือกลงวารสารที่มี Impact Factor สูงกว่าไว้
การถูกปฏิเสธ (Rejected) ของวารสารนานาชาติเป็นเรื่องปกติ การยื่นเสนอตีพิมพ์ลงวารสารครั้งแรก ควรยื่นเสนอในวารสารที่มีระดับ Impact Factor สูงเกินกว่าที่ผู้วิจัยประเมินบทความของตนเองเผื่อไว้ซึ่งหากได้รับการปฏิเสธจากวารสารแรกจึงค่อยส่งลงวารสารที่เลือกไว้ต่อไป แต่ไม่ควรส่งไปพร้อมกันหลายวารสารเพราะผิดจรรยาบรรณนักวิจัย ดังนั้นต้องมั่นใจก่อนว่าวารสารที่แรกปฏิเสธก่อนจึงจะส่งไปวารสารอื่นต่อไป และการเลือกวารสารควรเลือกที่อยู่ในฐาน Scopus และ SCI
5.2 การ Submitted นักวิจัยต้องฝึกการส่งในระบบออนไลน์ (Submitted Online) และการเตรียมใบปะหน้าที่เรียกว่า จดหมายแนะน าตัวหรือ Cover Letter และประวัติของผู้ร่วมวิจัยให้พร้อม ต้องศึกษาวิธีการเขียนและเตรียมไว้รอ รวมทั้งเสนอชื่อผู้ประเมินบทความ (Reviewer) เตรียมไว้ด้วยเนื่องจากบางวารสารต้องการในขั้นตอนการ Submitted Online นักวิจัยจะได้รับการตอบรับอัตโนมัติว่าได้น าผลงานวิจัยเข้าระบบ (ซึ่งยังไม่ใช่การตอบรับลงตีพิมพ์) จากนั้นบทความวิจัยจะผ่านผู้ประเมินคุณภาพบทความเบื้องต้น (Editor) ซึ่งถ้า Editorพิจารณาประมาณ 3-4 วัน ถ้าส่งจดหมายมา (Mail) ส่วนใหญ่จะปฏิเสธ แต่หากหรือเกิน 2 สัปดาห์ส่วนใหญ่บทความจะถูกส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญพิจารณาบทความ (Peer Review) ต่อไป และเข้าสู่กระบวนการ พิจารณาคุณภาพบทความ
5.3 การเป็นผู้วิจัยหลัก และผู้วิจัย ในการ Submitted บทความตีพิมพ์จะให้กรอกผู้วิจัยหลักและผู้วิจัย ซึ่งโดยหลักการแล้วผู้วิจัยหลักจะเป็นผู้ที่วารสารติดต่อกลับและเป็นผู้ท าหน้าที่ติดต่อกับวารสารทั้งการปรับแก้ตามข้อเสนอแนะหรือเรื่องอื่นๆ จนกระทั่งบทความได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ส่วนผู้วิจัยทุกคนที่ปรากฏรายชื่อในบทความวิจัยต้องรับรู้และให้การยินยอมในการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร