ปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้ในงานวิจัย
- โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงปัญญาประดิษฐ์ที่นำมาใช้ในงานวิจัย มักจะหมายถึง Generative Artificial Intelligence (GenAI) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่สร้างเนื้อหาแบบอัตโนมัติ โดยใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาติ (natural-language conversational interfaces) เพื่อตอบสนองต่อข้อมูลที่ถูกป้อน (prompt) (UNESCO, 2023) โดย GenAI ที่เป็นที่รู้จักกันดี และทำให้เกิดกระแสการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในงานเขียนต่าง ๆ ก็คือ Chat GPT ซึ่งมีจำนวนผู้ใช้งานรายเดือน (monthly active user) กว่า 100 ล้านราย ณ เดือนมกราคม 2566 (UNESCO, 2023)
- นอกจาก Chat GPT แล้ว ยังมีปัญญาประดิษฐ์อีกหลายตัวที่ถูกนำมาใช้ในงานวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อการสืบค้นข้อมูล เพื่อการสรุปเนื้อหาจากการทบทวนวรรณกรรม เพื่อการเขียนและปรับปรุงเนื้อหา เป็นต้น ตัวอย่าง 4 Ai ที่จะช่วยให้การทำวิจัยรวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น ประกอบด้วย
- ChatGPT (https://chatgpt.com/) เป็น Chatbot มีความสามารถในการเรียนรู้ข้อมูลได้อย่างมหาศาล ก่อนที่จะนำข้อมูลทั้งหมดเหล่านั้นมาทำการวิเคราะห์และประมวลผล เพื่อตอบคำถามและข้อสงสัยให้กับผู้ใช้งานได้อย่างครอบคลุมในหลาย ๆ แง่มุม ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการให้ข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานวิจัยได้ เช่น ใช้สำรวจไอเดีย อธิบายหัวข้อที่เราสนใจ สรุปบทความ รวมไปถึงการตอบคำถามต่างๆที่เราอยากรู้ ปัจจุบันเป็นเวอร์ชั่น GPT-4o. ซึ่งในปัจจุบันสามารถอ่านข้อมูลไฟล์ .pdf ได้ เราจึงสามารถใช้ประโยชน์ให้ AI สรุปบทความในการทบทวนวรรณกรรมได้ หรือเขียน บรรณานุกรมในรูปแบบที่เราต้องการได้
SciSpace (https://typeset.io/) เป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมบทความวิจัยจำนวนมาก 137.8 ล้านบทความ ตีพิมพ์ระหว่างปี 1800-2023 เราสามารถค้นหาบทความวิจัยต่างๆ ที่เราสนใจได้ ซึ่งไฮไลท์ของ SciSpace คือ Chatbot Copilot ที่ทำให้เราสนทนา ถาม-ตอบ เกี่ยวการอ่านทำความเข้าใจ และเรียนรู้ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ทั้งเนื้อหาในบทความรวมถึงการอธิบายภาพหรือตารางในบทความ หรือแม้กระทั่งการสรุปข้อมูลเพื่อให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้น (https://typeset.io/)
Quillbot (https://quillbot.com/) เป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้การพิมพ์หรือเขียนงานภาษาอังกฤษได้อย่างกับเราเป็นเจ้าของภาษา ด้วยการทำงานของ AI มีฟีเจอร์หลากหลาย เช่น Paraphrase ประโยคให้สละสลวย นอกจากนี้สามารถสรุปใจความสำคัญของประโยคให้สั้นกระชับ แก้ Grammar ให้ไม่มีพลาด แถมช่วยเขียน Citation หรืออ้างอิงได้อีกด้วย
4. Grammarly (https://app.grammarly.com/) เป็นเครื่องมือตรวจคำและไวยากรณ์ออนไลน์ที่ใช้การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) เพื่อช่วยคนเขียนและผู้ใช้ทั่วไปปรับปรุงคุณภาพของข้อความเป็นภาษาอังกฤษ. การใช้ Grammarly ช่วยแก้คำผิด ตรวจการใช้คำและไวยากรณ์ผิดพลาด และแสดงข้อเสนอแนะเพื่อที่จะปรับปรุงความถูกต้องและคุณภาพของข้อความ
- Claude (https://claude.ai/) คือ หนึ่งในปัญญาประดิษฐ์ของบริษัท Anthropic ที่ถูกสร้างขึ้นให้มีความสามารถอันชาญฉลาดในการตอบคำถาม วิเคราะห์ข้อมูล แก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เขียน Code รวมถึงช่วยเสนอไอเดียเกี่ยวกับงานเขียนเชิงสร้างสรรค์ต่างๆ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้การทำงานของมนุษย์ง่ายขึ้นไปอีกหลายระดับ
- Gemini (https://gemini.google.com/app) คือ โมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่พัฒนาโดย Google AI ถูกออกแบบมาให้เป็น Multi-modal ที่สามารถสนทนาโต้ตอบกับผู้ใช้อย่างเข้าใจและประมวลผลข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น แปลภาษา ตอบคำถาม สรุปบทความ เขียนโค้ด และวางแผน ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ข้อความเพียงอย่างเดียว Gemini สามารถใช้งานบนอุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่ศูนย์ข้อมูลไปจนถึงอุปกรณ์มือถือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในงานวิจัย
แหล่งอ้างอิง : https://research.psu.ac.th/news/interesting-article/10743/