ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย Bachelor of Science Program in Occupational Health and Safety
ปรัชญา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มุ่งเน้นการผลิตบุคลากรเพื่อออกไปทำหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกัน แก้ปัญหาสุขภาวะและความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และสถานประกอบการ ให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีคุณภาพและคุณธรรม มหาวิทยาลัยปทุมธานีจึงมุ่งที่จะจัดการศึกษาให้ครอบคลุมความรู้ทั้งในหมวดการศึกษาทั่วไป ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาเป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบต่อสังคมสามารถช่วยกันพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างมั่นคงยั่งยืนและหมวดวิชาชีพ ซึ่งเป็นความรู้ที่จะนำไปใช้ในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย ประเมินความเสี่ยง ป้องกัน ควบคุม ออกแบบสภาพการทำงาน และสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการของผู้ประกอบอาชีพให้ได้มาตรฐาน ซึ่งจะเป็นผลให้ผู้ประกอบอาชีพได้รับความปลอดภัยในการทำงาน เป็นแรงงานที่มีคุณภาพ อันจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมของชาติสืบไป
ความสำคัญของหลักสูตร
การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและรายได้ของประเทศ ที่มาจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก ดังนั้นประชากรที่ปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม จำเป็นต้องมีสุขภาวะที่ดีเพื่อทำงานได้อย่างเต็มที่ ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานประกอบการประมาณ 300,000 แห่ง มีลูกจ้างภายใต้กองทุนเงินทดแทนประมาณ 8,000,000 คน สุขภาพของผู้ประกอบอาชีพเป็นปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ โรคจากการประกอบอาชีพ เช่น พิษจากสารตะกั่วและสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับการทำงาน มีผลต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน นอกจากนี้กระบวนการผลิตทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือ อุบัติเหตุต่อร่างกายที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไป จะเห็นได้จากสถิติอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรมปี 2549 พบว่าคนงานประสบอันตรายจากการทำงานประมาณปีละ 200,000 คน เสียชีวิตจากการทำงานปีละ 600 คน จ่ายเงินค่าทดแทนปีละ 1,600 ล้านบาท โดยมีสาเหตุจากเครื่องจักร/อุปกรณ์ไม่ปลอดภัยร้อยละ 28 ไฟฟ้าลัดวงจรร้อยละ 33 กระบวนการทำงานที่ไม่ปลอดภัยร้อยละ 27 ความประมาทร้อยละ 12 รวมทั้งพิษจากสารเคมีกำจัดแมลงและวัชพืชในการทำเกษตรกรรมอีกด้วย
โครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร
รายละเอียด |
หน่วยกิต |
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต |
30 |
2. หมวดวิชา ไม่น้อยกว่า 91 หน่วยกิต |
104 |
2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ |
27 |
2.2 กลุ่มวิชาชีพสาธารณสุข |
30 |
2.3 กลุ่มวิชาชีพเฉพาะสาขา |
47 |
3. หมวดวิชาเลือกเสรี |
6 |
รวม |
140 |
องค์ประกอบของหลักสูตร
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
วิชาบังคับ 24 หน่วยกิต
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 9 หน่วยกิต
- GED1401 การวางแผนเป้าหมายชีวิต 3(3-0-6)
Life Goal Planning
- GED1404 กฎหมายในชีวิตประจำวัน 3(3-0-6)
Law in Everyday Life - GED1409 การประกอบการธุรกิจ 3(3-0-6)
Entrepreneurship
กลุ่มวิชาภาษา 9 หน่วยกิต
- GED1501 ภาษาไทยเพื่ออาชีพ 3(3-0-6)
Thai Language for Professional Purposes
- GED1502 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3(2-2-5)
Foundation English
- GED1503 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3(2-2-5)
Communicative English
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ 6 หน่วยกิต
- GED1601 เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 3(3-0-6)
Information Technology and Innovation
- GED1602 คณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน 3(3-0-6)
Mathematics and Statistics in Daily Life
วิชาเลือก เลือกเรียนในวิชาเหล่านี้ อย่างน้อยจำนวน 6 หน่วยกิต
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- GED1402 จิตวิทยาเพื่อการพัฒนาตนเอง 3(3-0-6)
Psychology for Self Development - GED1403 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3(3-0-6)
Philosophy of Sufficiency Economy for Sustainable Development - GED1405 อาเซียนศึกษา 3(3-0-6)
ASEAN Studies
- GED1406 ปทุมธานีศึกษา 3(3-0-6)
Pathumthani Studies
- GED1407 โหราศาสตร์กับสังคมมนุษย์ 3(3-0-6)
Astrology and Human Society
- GED1408 ทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวัน 3(3-0-6)
Communication Skills in Everyday Life
กลุ่มวิชาภาษา
- GED 1504 ภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ 3(3-0-6)
English for Professional Purposes - GED 1505 ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร 3(3-0-6)
Chinese for Communication
- GED 1506 ภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสาร 3(3-0-6)
Japanese for Communication
- GED 1507 ภาษาบาฮาซาเพื่อการสื่อสาร 3(3-0-6)
Bahasa for Communication
- GED 1508 ภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสาร 3(3-0-6)
Arabic for Communication - GED 1509 การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ 3(2-2-5)
English Reading and Writing
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์
- GED1603 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม 3(3-0-6)
Sciences, Technology and Innovation
- GED1604 สิ่งแวดล้อมกับชีวิต 3(3-0-6)
Environment and Life
- GED1605 สถิติเบื้องต้น 3(3-0-6)
Elementary Statistics - GED1606 การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป 3(2-2-5)
Software Application - GED1607 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ 3(2-2-5)
Information and Computer Technology
กลุ่มวิชาพลศึกษาและนันทนาการ
- GED1701 การพัฒนาสุขภาวะทางกายและจิต 3(2-2-5)
Development of Physical and Psychological Well-Being - GED1702 กีฬาเพื่อสุขภาพ 3(2-2-5)
Sports for Health
- GED1703 นันทนาการ 3(2-2-5)
Recreation
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
-
เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับวิชาชีพ ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
-
ที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยในสถานประกอบการต่างๆ
-
เป็นผู้ตรวจวัดด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
-
ผู้ตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการ
-
นักวิชาการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมถึงด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านสาธารณสุข ด้านการยศาสตร์ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขาภิบาล และด้านวิศวกรรมความปลอดภัย
-
ประกอบอาชีพอิสระ ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และสาขาที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
